วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
           เทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารนำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานทางธุรกิจโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 4 ประการดังนี้
          1.  เพื่อการสื่อสารทางธุรกิจที่ดีขึ้น
          2.  เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
          3.  เพื่อการกระจายข้อมูลที่ดีขึ้น
          4.  เพื่อการจัดการกระบวนการธุรกิจที่สะดวกขึ้น 
องค์ประกอบของการสื่อสาร
          1.  ผู้ส่งข้อมูล (Sender) ทำหน้าที่ส่งข้อมูล
          2.  ผู้รับข้อมูล (Receiver) ทำหน้าที่รับข้อมูล
          3.  ข้อมูล (Data) ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล อาจอยู่ในรูปของข้อความ เสียง ภาพเคลื่อนไหว
          4.  สื่อนำข้อมูล (Medium) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูล เช่น สายเคเบิล ใยแก้วนำแสง อากาศ
          5.  โปรโตคอล (Protocol) กฎหรือวิธีที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลง กันระหว่าง ผู้ส่งข้อมูล กับ ผู้รับข้อมูล
การใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร
          การสื่อสารข้อมูลในยุคปัจจุบัน ได้ตะหนักถึง ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีคมนาคมและการสื่อสารมาช่วยงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ซึ้งการประยุกต์เทคโนโลยีการสื่อสารในองค์การมีดังนี้
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail)
          การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ และพีดีเอ ส่งข้อความอิเล็กทรอนิกส์ไปยังบุคคลอื่น โดยการสื่อสารนี้บุคคลที่ทำการสื่อสารจะต้องมีชื่อและที่อยู่ในรูปแบบอีเมล์แอดเดรส 
โทรสาร (Facsimile หรือ Fax)
          เป็นการส่งข้อมูล ซึ่งอาจเป็นข้อความที่เขียนขึ้นด้วยมือหรือการพิมพ์ รูปภาพ หรือกราฟต่างๆ จากเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่มีอุปกรณ์ที่เรียกว่าแฟกซ์-โมเด็มไปยังเครื่องรับโทรสาร การส่งข้อความในลักษณะนี้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการส่งข้อมูลผ่านเครื่องโทรสารธรรมดา
วอยซ์เมล (Voice Mail)              
          เป็นการส่งข้อความเป็นเสียงพูดให้กลายเป็นข้อความอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารข้อความจะถูกบันทึกไว้ในอุปกรณ์บันทึกเสียงที่เรียกว่าวอยซ์เมล์บล็อก เมื่อผู้รับเปิดฟังข้อความดังกล่าวก็จะถูกแปลงกลับไปอยู่ในรูปแบบของเสียงพูดตามเดิม
การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ (Video Conferencing)              
          เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยการส่งภาพและเสียงจากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ในการใช้ Video Conferencing จะต้องมีอุปกรณ์สำหรับการบันทึกภาพและอุปกรณ์บันทึกเสียง โดยที่ภาพและเสียงที่ส่งไปนั้นอาจเป็นภาพเคลื่อนไหวที่มีเสียงประกอบได้ การประชุมทางไกลอิเล็กทรอนิกส์ช่วยประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปประชุม
การระบุตำแหน่งด้วยดาวเทียม(Global Positioning Systems : GPSs)              
          เป็นระบบที่ใช้วิเคราะห์และระบุตำแหน่งของคน สัตว์ หรือสิ่งของที่เป็นเป้าหมายของระบบ การวิเคราะห์ตำแหน่งทำได้โดยใช้ดาวเทียมระบุตำแหน่ง ปัจจุบันมีการนำไปใช้ในระบบการเดินเรือ เครื่องบินและเริมพัฒนามาใช้เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์ด้วย
กรุ๊ปแวร์(groupware)              
           เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของกลุ่มบุคคลให้สามารถทำงานร่วมกัน การใช้ทรัพยากรและสารสนเทศร่วมกันโดยผ่านระบบเครือข่าย
การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Fund Transfer : EFT)              
          ปัจจุบันผู้ใช้สามารถชำระค่าสินค้าและบริการโดยการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์จากบัญชีธนาคารที่ให้บริการโอนเงินอัตโนมัติด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารที่ทันสมัย กิจกรรมที่ประยุกต์ใช้กันเป็นประจำ ได้แก่ การโอนเงินผ่านทางตู้ ATM
การแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Data Interchange : EDI)              
          เป็นระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การ โดยใช้แบบฟอร์มของเองกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีรูปแบบมาตรฐานสากล เช่น การส่งใบสั่งสินค้า ใบส่งของ ใบเรียกเก็บเงิน                
 การระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ(RFID)
          เป็นระบบระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุ ปัจจุบันมีการนำ RFID ไปประยุกต์ใช้งานหลากหลายประเภท เช่น ห่วงโซ่อุปทาน ระบบโลจิสติกส์การตรวจสอบฉลากยา การใช้ในฟาร์มเลี้ยงสุกร บัตรทางด่วน บัตรรถไฟฟ้าใต้ดิน ระบบหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ 
ชนิดของสัญญาณข้อมูล
          1.  สัญญาณแอนะล็อก(Analog Signal)              
          เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (Sine Wave) โดยที่แต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน เมื่อนำสัญญาณข้อมูลเหล่านี้มาผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณและแปลงสัญญาณและแปลงสัญญาณก็จะได้ข้อมูลที่ต้องการ
เฮิรตซ์  (Hertz) คือหน่วยวัดความถี่ของสัญญาณข้อมูลแบบแอนะล็อก วิธีวัดความถี่จะนับจำนวนรอบของสัญญาณที่เกิดขึ้นภายใน 1 วินาที เช่น ความถี่ 60 Hz หมายถึง ใน 1 วินาที สัญญาณมีการเปลี่ยนแปลงระดับสัญญาณ 60 รอบ               
          2.  สัญญาณดิจิทัล(Digital Signal)              
          สัญญาณดิจิทัลเป็นสัญญาณแบบไม่ต่อเนื่อง รูปสัญญาณของสัญญาณมีความเปลี่ยนแปลงที่ไม่ปะติดปะต่ออย่างสัญญาณแอนะล็อก ในการสื่อสารด้วยสัญญาณดิจิทัล ข้อมูลในคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเลขฐานสอง (0และ1) จะถูกแทนด้วยสัญญาณดิจิทัล Bit Rate เป็นอัตราความเร็วในการส่งข้อมูลแบบดิจิทัล วิธีวัดความเร็วจะนับจำนวนบิตข้อมูลที่ส่งได้ในช่วงระยะเวลา 1 วินาที เช่น 14,400 bps หมายถึง มีความเร็วในการส่งข้อมูลจำนวน 14,4001 บิตในระยะเวลา 1 วินาที               
โมเด็ม(Modulator DEModulator หรือ Modem)                  
          โมเด็ม(Modem) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณดิจิทัลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณแอนะล็อก ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลของโมเด็มวันเป็นบิตต่อวินาที (bit per second หรือ bps) ความเร็วของโมเด็มโดยทั่วไปมีความเร็วเป็น 56 กิโลบิตต่อวินาที
ทิศทางการส่งข้อมูล(Transmission Mode) สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้ 3 รูปแบบ
          1.  การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex Transmission)
          2.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-Duplex Transmission)
          3.  การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-Duplex Transmission)
ตัวกลางการสื่อสาร
          1.  สื่อนำข้อมูลแบบมีสาย(Wired Media)  สื่อข้อมูลแบบมีสายที่นิยมใช้มี 3 ชนิดดังนี้
               -  สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)              
                  สายคู่บิดเกลียว เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า สายแต่ละเส้นมีลักษณะคล้ายสายไฟทั่วไป จำนวนสายจะมีเป็นคู่ เช่น 2 , 4 หรือ 6 เส้น แต่ละคู่จะมีพันบิดเกลียว การบิดเกลียวนี้จะช่วยลดสัญญาณรบกวนที่เกิดขึ้นในการส่งข้อมูล ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าปกติ
                -  สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)              
           สายโคแอกเชียล เป็นสายสัญญาณนำข้อมูลไฟฟ้า มีความถี่ในการส่งข้อมูลประมาณ 100 MHz ถึง500 MHz สายโคแอกเชียลมีความมเร็วในการส่งข้อมูลและราคาสูงกว่าสายบิดเกลียว
                -  สายใยแก้วนำแสง(Optical Fiber Cable)              
          สายสัญญาณทำจากใยแก้วหรือสารนำแสงหุ้มด้วยวัสดุป้องกันแสง มีความเร็วในการส่งสูงกับความเร็วแสง สามารถใช้ในการส่งข้อมูลที่มีความถี่สูงได้ สัญญาณที่ส่งผ่านสายใยแก้วนำแสง คือ แสง และ สัญญาณรบกวนจากภายนอกมีเพียงอย่างเดียว คือ แสงจากภายนอก
          2.  สื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย(Wireless Media) การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย จะใช้อากาศเป็นตัวกลางของการสื่อสาร เช่น
                - แสงอินฟราเรด (Infrared)  เป็นการสื่อสารข้อมูลโดยใช้แสงอินฟราเรดเป็นสื่อกลาง การสื่อสารประเภทนี้นิยมใช้สำหรับการสือสารข้อมูลระยะใกล้ เช่น การสื่อการจากรีโมทคอนโทรลไปยังเครื่องรับวิทยุหรือโทรทัศน์
                -  สัญญาณวิทยุ (Radio Wave)  เป็นสื่อนำข้อมูลแบบไร้สาย (Wireless Media) ที่มีการส่งข้อมูลเป็นสัญญาณคลื่อนวิทยุไปในอากาศไปยังตัวรับสัญญาณ
                -  ไมโครเวฟภาคพื้นดิน (Terrestrial Microwave) เป็นการสื่อสารไรสายอีกประเภทหนึ่ง การสื่อสารประเภทนี้จะมีเสาส่งสัญญาณไมโครเวฟที่อยู่ห่างๆ กัน ทำการส่งข้อมูลไปในอากาศไปยังเสารับข้อมูล
                -  การสื่อสารผ่านดาวเทียม (Satellite Communication)  เป็นการสื่อสารจากพื้นโลกที่มีการส่งสัญญาณข้อมูลไปยังดาวเทียม โดยดาวเทียมจะทำหน้าที่เป็นสถานีทวนสัญญาณ เพื่อจัดส่งสัญญาณต่อไปยังสถานีภาพพื้นดินอื่นๆ ระยะทางจะโลกถึงดาวเทียมประมาณ 22,000 ไมล์
หลักเกณฑ์การพิจารณาเลือกสื่อนำข้อมูล
          1.  ราคา
          2.  ความเร็ว
          3.  ระยะทาง
          4.  สัญญาณรบกวนที่อาจจะเกิดขึ้น
          5.  ความปลอดภัยของข้อมูล
มาตรฐานเครือข่ายไร้สาย (Wireless Networking Protocols)
          1. บลูทูธ (Bluetooth)
          2. ไวไฟ (Wi-Fi)
          3. ไว-แมกซ์ (Wi-MAX)


วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ซอฟแวร์ระบบ(System Software) Dos, Windows, Linux, Unix, Mac OS, Android, iOS, Symbian, Windows Phone

ซอฟแวร์ระบบ(System Software) Dos, Windows, Linux, Unix, Mac OS, Android, iOS, Symbian, Windows Phone
ซอฟต์แวร์ระบบ ( System Software) หมายถึง โปรแรกมที่มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่างและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็นโปรแกรมตามหน้าที่การทำงาน 
DOS (Disk operating System) เป็นระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมาตั้งแต่ในอดีตออกมาพร้อมกับเครื่องพีซีของไอบีเอ็มรุ่นแรก ๆ จากนั้นก็มีการพัฒนารุ่นใหม่ออกมาเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงเวอร์ชั่นสุดท้ายคือ เวอร์ชั่น 6.22 หลังจากที่มีการประกาศใช้วินโดวส์ 95 ก็คงจะไม่ผลิต DOS เวอร์ชชั่นใหม่ออกมาแล้ว โดยทั่วไปจะนิยมใช้วินโดวส์ 3.x ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมเสริมชนิดหนึ่งที่ใช้ในดอส                                         
WINDOWS ป็นระบบปฏิบัติการที่กำลังนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งพัฒนามาถึงรุ่น Windows 2000 แล้ว บริษัทไมโครซอฟต์ได้เริ่มประกาศใช้ MS Windows 95 ครั้งแรกเมื่อ 24 สิงหาคม ค.ศ.1995 โดยมีความคิดที่ว่าจะออกมาแทน MS-DOS และ วินโดวส์ 3.X ที่ใช้ร่วมกันอยู่ ลักษณะของวินโดวส์ 95 จึงคล้ายกับเป็นระบบโอเอสที่มีทั้งดอสและวินโดวส์อยู่ในตัวเดียวกัน แต่เป็นวินโดวส์ที่มีลักษณะพิเศษกว่าวินโดวส์เดิม เช่น มีคุณสมบัติเป็น Plug and play ซึ่งสามารถจะรู้จักฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องได้โดยอัตโนมัติ มีลักษณะเป็นระบบ 32 บิต ในขณะที่วินโดวส์ เดิมเป็นระบบ 16 บิต เป็นต้น บริษัทไมโครซอฟต์ไม่ได้หยุดเพียงแค่วินโดวส์ 95 แต่ได้มีการพัฒนาเพิ่มฟังก์ชันใหม่ ๆ เข้าไป ในที่สุดก็ออกระบบโอเอสตัวถัดมาเป็น MS Windows 98 และ MS Windows 2000 ตามลำดับโดยที่มีการติดตั้ง และการใช้งานที่มีพื้นฐานไม่แตกต่างกันมากนัก จึงง่ายสำหรับผู้ใช้ในการปรับตัวเข้ากับระบบโอดอสใหม่ๆ                              
ลีนุกซ์ (Linux) เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ ดอส ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือยูนิกซ์ โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรม                            
UNIX เป็นระบบ OS ที่สามารถใช้ร่วมกันได้หลายคน (Multiuser) หรือเป็นระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย โดยที่ผู้ใช้แต่ละคนจะต้องมีชื่อและพาสเวิร์ดส่วนตัว และสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก โดยผ่านทางสายโทรศัพท์และมี Modem เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลหรือโอนย้ายข้อมูล นิยมใช้อย่างแพร่หลายในมหาวิทยาลัย หน่วยงานรัฐบาล หรือบริษัทเอกชนที่มีระบบคอมพิวเตอร์ใหญ่ ๆ ใช้ ในระบบยูนิกซ์เองก็มีวินโดวส์อีกชนิดหนึ่งใช้เรียกว่า X Windows สำหรับผู้ที่ต้องการใช้ระบบยูนิกซ์ในเครื่องพีซีที่บ้านก็มีเวอร์ชั่นสำหรับพีซีเรียกว่า Linux ซึ่งจะมีคำสั่งพื้นฐานคล้าย ๆ กับระบบยูนิกซ์                                                 
Mac OS (แมค โอเอส) เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้เฉพาะกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์แมคอินทอช ที่ผลิตโดยบริษัทแอปเปิลแมคอินทอชโอเอสถูกเปิดตัวออกมาครั้งแรกในปี 1984 ลักษณะที่เด่นของระบบปฏิบัติการประเภทนี้คือ มีลักษณะที่ง่ายต่อการใช้งานมากกว่าระบบปฏิบัติการดอส เนื่องจากคำสั่งต่าง ๆ จะอยู่ในรูปแบบของเมนู และมีรูปภาพที่เรียกว่าไอคอน ที่ใช้แทนโปรแกรมหรืองานผู้ใช้สามารถใช้เมาส์คลิกเลือกเมนู หรือไอคอนเพื่อเรียกคำสั่งหรือโปรแกรมขึ้นมาทำงานได้ แทนการป้อนคำสั่งจากแป้นพิมพ์เหมือนดอส
แอนดรอยด์ (Android) เป็นระบบปฏิบัติการที่มีพื้นฐานอยู่บนลินุกซ์ ถูกออกแบบมาสำหรับอุปกรณ์ที่ใช้จอสัมผัส เช่นสมาร์ตโฟน และแท็บเล็ตคอมพิวเตอร์ ถูกคิดค้นและพัฒนาโดยบริษัท แอนดรอยด์ (Android, Inc.) ซึ่งต่อมา กูเกิล ได้ทำการซื้อต่อบริษัทในปี พ.ศ. 2548 แอนดรอยด์ถูกเปิดตัวเมื่อ ปี พ.ศ. 2550 พร้อมกับการก่อตั้งโอเพนแฮนด์เซตอัลไลแอนซ์ ซึ่งเป็นกลุ่มของบริษัทผลิตฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์ และการสื่อสารคมนาคม ที่ร่วมมือกันสร้างมาตรฐานเปิด สำหรับอุปกรณ์พกพา                                                                   
ไอโอเอส (IOS) โดยมีชื่อเดิมที่เรียกกันคือ ไอโฟนโอเอส (iPhone OS) คือระบบปฏิบัติการสำหรับสมาร์ตโฟนของบริษัท แอปเปิล (Apple Inc.) เป็นระบบที่ได้พัฒนาขึ้นสำหรับใช้ในโทรศัพท์ไอโฟน (iPhone) และต่อมาได้มีการพัฒนาต่อเพื่อใช้สำหรับไอพอตทัช (iPod touch) และไอแพด (iPad) ซึ่งระบบ IOS สามารถเชื่อมต่อไปยัง Apps Store สำหรับการเข้าถึงแอปพลิเคชั่นที่สามารถใช้งานได้บนระบบปฎิบัติการ IOS หรือที่เรียกกันว่า IOS Application หรือ IOS Apps ซึ่งมีการแบ่งเป็นหมวดการใช้งานสำหรับผู้ใช้โทรศัพท์ไอโฟนสามารถทำการโหลด IOS App มาใช้งานได้ตามต้องการ และนอกจากนี้ในปัจจุบันได้มีการพัฒนา IOS Apps สำหรับใช้งานและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ระบบ IOS อีกมากมาย    Symbian คือ ระบบปฏิบัติการ (Operating System) ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับเทคโนโลยีการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) ช่วยในการส่งข้อมูลของโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลัก เป็นระบบที่ใช้งานได้ง่าย มีความปลอดภัยสูง ช่วยประหยัดพลังงาน และใช้หน่วยความจำที่มีขนาดเล็ก เพื่อรองรับกับโทรศัพท์มือถือทั้งในปัจจุบันและอนาคต
วินโดวส์โฟน (Windows Phone) เป็นตระกูลระบบปฏิบัติการโทรศัพท์มือถือกรรมสิทธิ์ ที่พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ และเป็นทายาทที่ของวินโดวส์โมเบิล แม้ว่าจะขัดกับมัน มีวัตถุประสงค์หลักในตลาดผู้บริโภคมากกว่าตลาดองค์กร เปิดตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2010 พร้อมกับการเปิดตัวในทวีปเอเชียต่อไปในช่วงต้นปี ค.ศ. 2011 เวอร์ชันล่าสุดของวินโดวส์โฟนคือ วินโดวส์โฟน 8 ซึ่งได้รับการบริการให้แก่ผู้บริโภคตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 2012 ด้วยระบบปฏิบัติการวินโดวส์โฟน ไมโครซอฟท์สร้างผู้ใช้ใหม่ในอินเตอร์เฟซ ที่มีภาษาการออกแบบที่เรียกว่า โมเดิร์นสไตล์ ยูไอ นอกจากนี้ซอฟต์แวร์ถูกรวมเข้ากับบริการของบุคคลที่สามและการบริการของ ไมโครซอฟท์ 

ที่มา : http://elearning.northcm.ac.th/it/lesson3-1.asp


หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์

หน่วยความจำของเครื่องคอมพิวเตอร์

หน่วยความจำหลัก (Main Memory Unit)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการจดจำข้อมูล และโปรแกรมต่าง ๆ ที่อยู่ระหว่างการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ บางครั้งอาจเรียกว่าหน่วยเก็บข้อมูลหลัก (Primary storage) สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ                            
                1.หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (Read Only Memory - ROM) เป็นหน่วยความจำแบบสารกึ่งตัวนำชั่วคราวชนิดอ่านได้อย่างเดียว ใช้เป็นสื่อบันทึกในคอมพิวเตอร์ เพราะไม่สามารถบันทึกซ้ำได้ (อย่างง่ายๆ) เป็นความจำที่ซอฟต์แวร์หรือข้อมูลอยู่แล้ว และพร้อมที่จะนำมาต่อกับไมโครโพรเซสเซอร์ได้โดยตรง หน่วยความจำประเภทนี้แม้ไม่มีไฟเลี้ยงต่ออยู่ ข้อมูลก็จะไม่หายไปจากน่วยความจำ (nonvolatile) โดยทั่วไปจะใช้เก็บข้อมูลที่ไม่ต้องมีการแก้ไขอีกแล้วเช่น เก็บโปรแกรมไบออส (Basic Input output System : BIOS) หรือเฟิร์มแวร์ ที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ใช้เก็บโปรแกรมการทำงานสำหรับเครื่องคิดเลขใช้เก็บโปรแกรมของคอมพิวเตอร์ที่ทำงานเฉพาะด้าน เช่น ในรถยนต์ที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมวงจร ควบคุมในเครื่องซักผ้า เป็นต้น                                                                                                                 
                2.หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (Random Access Memory - RAM)เป็นหน่วยความจำหลัก ที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน หน่วยความจำชนิดนี้ อนุญาตให้เขียนและอ่านข้อมูลได้ในตำแหน่งต่างๆ อย่างอิสระ และรวดเร็วพอสมควร ซึ่งต่างจากสื่อเก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ อย่างเทป หรือดิสก์ ที่มีข้อจำกัดในการอ่านและเขียนข้อมูล ที่ต้องทำตามลำดับก่อนหลังตามที่จัดเก็บไว้ในสื่อ หรือมีข้อกำจัดแบบรอม ที่อนุญาตให้อ่านเพียงอย่างเดียวข้อมูลในแรม อาจเป็นโปรแกรมที่กำลังทำงาน หรือข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผล ของโปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่ ข้อมูลในแรมจะหายไปทันที เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ถูกปิดลง เนื่องจากinternal storge หรือเป็นหน่วยเก็บข้อมูลและโปรแกรมชั่วคราว( temporary storage)เมื่อปิดเคื่รองคอมพิวเตอร์ข้อมูลหรือโปรเเกรมทุกอย่าง ที่เก็บในแรมจะหายไป เนื่องจากไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยง หน่วยเก็บข้อมูลประเภทนี้จึงเรียกว่า volatile ดังนั้นจัดเก็บข้อมูลอย่างถาวร ไว้ใช้งานในภายหลัง จึงจำเป็นจะตอ้งมีหน่วยเก็บเข้อมูลภายนอกที่เรียกว่า external storage หรือ secondary storage หรือ auxiliary storage ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลสำหรับการประมวลผลไว้ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีกระเเส ไฟฟ้าหล่อเลี้ยง( non-volatile) ก็ตาม กระบวนการในการเก็บข้อมูล เรียกว่า การเขียนหรือการบันทึกข้อมูล ( writing หรือ recording data)
เนื่องจากว่า อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง จะบันทึกข้อมูลในรูปของสื่อต่างๆที่สามารถนำมาเร๊ยกในภายหลังได้ กระบวนการดึงข้อมูลมาใช้เรียกว่า retrieving data เเละถ้าเป็นการอ่านข้อมูลจะเรียกว่า reading data เพราะอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองจะอ่านข้อมูลและถ่ายโอนไปยังหน่วยความจำหลัก เพื่อการประมวลผลต่อไป

การใช้งานคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานต่างๆ จะมีความต้องการอุปกรณ์ในการจัดเก็บข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป เช่น บริษัทประกันและธนาคาร อาจมีความต้องการอุปกรณ์ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าได้จำนวนมาก ในขณะที่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอาจต้องการอุปกรณ์ ในการจัดเก็บข้อมูลไม่มากนัก

หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Unit)                                                              
อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ดังนี้
1.จานแม่เหล็ก ( magnetic disk storage) หน่วยความจำชนิดนี้ จะเก็บข้อมูลได้เฉพาะเวลาที่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงเท่านั้นจานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกประเภท จานแม่เหล็กประกอบด้วยแผ่นพลาสติกหรือโลหะที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็ก ข้อมูลสามารถบันทึกและอ่านจากผิวหน้าที่เคลือบด้วยสารแม่เหล็กนี้ จานแม่เหล็กเป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่มีความจุสูง มีความเชื่อถือได้ และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว ประเภทของจานแม่เหล็ก เช่น ฮาร์ดดิสก์
2.ฟลอปปี้ดิสก์ ( floppy disks) นิยมเรียกโดยทั่วไปว่า ดิสก์เกตต์ ( diskettes) หรือดิสก์ ( disks) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองที่สามารถพกพาและเคลื่อนย้ายได้สะดวก ฟลอปปีดิสก์ ในรุ่นแรก ๆ จะมีขนาด 8 นิ้ว และ 5.25 นิ้ว แต่ปัจจุบันนิยมใช้ขนาด 3.5 นิ้วแต่เดิมฟลอปปีดิสก์เรียกว่า ฟลอปปี ( floppies) เพราะดิสก์มีลักษณะที่บางและยืดหยุ่น แต่ปัจจุบันลักษณะของดิสก์ได้พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ เป็นดิสก์ที่หุ้มด้วยแผ่นพลาสติกแข็ง แต่เนื้อดิสก์ภายในยังคงอ่อนเหมือนเดิม จึงเรียกฟลอปปี้เช่นเดิม

ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type1/tech03/18/prakopmemory.html

ความหมาย Hardware, Software, People Ware และ Data

ฮาร์ดแวร์ หมายถึง อุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นโครงร่างสามารถมองเห็นด้วยตาและสัมผัสได้ (รูปธรรม) เช่น จอภาพ คีย์บอร์ด เครื่องพิมพ์ เมาส์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 4 หน่วย คือ หน่วยรับข้อมูล (Input Unit) หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยแสดงผล (Output Unit) หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage) โดยอุปกรณ์แต่ละหน่วยมีหน้าที่การทำงานแตกต่างกัน 1. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่พบใน Case ได้แก่ 1.1 Power Supply 1.2 Mainboard และ ฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งหรือเป็นส่วนหนึ่งของ Mainboard ที่สำคัญ ได้แก่ 1.2.1 CPU 1.2.2 RAM 1.2.3 Expansion Slots 1.2.4 Ports 1.3 Hard Disk 1.4 Floppy Disk Drive 1.5 CD-ROM Drive 1.6 DVD-ROM Drive 1.7 Sound Card 1.8 Network Card 2. ฮาร์ดแวร์สำคัญที่อยู่นอก Case ที่สำคัญได้แก่ 2.1 Keyboard 2.2 Monitor 2.3 Mouse 2.4 Printer 2.5 Scanner 2.6 Digital Camera 2.7 Modem 2.8 UPS เคส (Case) คือ ส่วนที่เป็นกล่องหรือตัวถังสำหรับบรรจุแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ตัวจ่ายไฟและอุปกรณ์ต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ให้เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันการรั่วไหลของกระแสไฟฟ้า และป้องกันอุปกรณ์ภายในไม่เสียหายจากแมลง หรือฝุ่นละอองต่างๆ เคสที่ดีไม่ใช่แค่สวยงามเท่านั้น แต่ต้องออกแบบให้ระบายความร้อนได้ดีอีกด้วย ปัจจุบัน Case มี 2 แบบ คือ แบบนอน (เรียกว่า Desktop ) และ แบบตั้ง (Tower) Case แบบนอน สามารถนำจอภาพมาตั้งไว้ข้างบนได้ เหมาะสำหรับผู้ที่มีเนื้อที่จำกัดที่จะวางเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่มีข้อเสียที่ภายในมีเนื้อที่จำกัด อาจเป็นอุปสรรค์เมื่อต้องการเพิ่มฮาร์ดแวร์ภายหลัง อย่างไรก็ตาม Case แบบนอนบางยี่ห้ออาจออกแบบมาดีจนเรื่องนี้ไม่ใช่อุปสรรคก็ได้ Case แบบตั้ง เปลืองเนื้อที่กว่า เพราะไม่สามารถวางจอภาพไว้ข้างบนได้ แต่มีข้อได้เปรียบ Case แบบนอน คือเนื้อที่ข้างในมากกว่า จึงเพิ่มฮาร์ดแวร์ได้มากชิ้นกว่า แต่อย่างที่กล่าวแล้วข้างบน ทั้งหมดขึ้นอยู่กับการออกแบบ Case แบบตั้งหากออกแบบไม่ดี อาจมีเนื้อที่เหลือให้เพิ่มฮาร์ดแวร์น้อยกว่าแบบนอนก็ได้
Software หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่สั่งการ ควบคุมการ ประมวลผลอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะมีความเร็วสูงในการทำงาน มีหน่วยความจำสูง และมีอุปกรณ์ประกอบมากมาย แต่ฮาร์ดแวร์ทำงานไม่ได้ ถ้าไม่มีชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์หรือชุดคำสั่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือโปรแกรมระบบ และโปแกรมประยุกต์                                           
1. โปรแกรมระบบ (system Software) ทำหน้าที่ทำงานที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์จำแนกออกเป็น    2 ประเภท คือ                 1.1 โปรแกรมระบบปฎิบัติการ (Operating System) ประกอบด้วยโปรแกรมการทำงานย่อยๆ ทำหน้าที่ต่างๆ กันระบบปฎิบัตการที่ใช้กันกว้างขวาง คือ Windows XP ,Windows Vista Linux 1.2 โปรแกรมแปลภาษา (Language Translators) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาสิก โคบอล ฟอร์แทรน โปรแกรมประยุกต์ที่นำเข้ามาสู่หน่วยจำด้วยภาษาที่เขียนขึ้นเราเรียกว่า Source Program ซึ่งเป็นภาษาเครื่องเราเรียกว่า Object Program หรือ Machine Language โปรแกรมแปลภาษแต่ละตัวจะทำหน้าที่ต่างกันและจะแปลได้ภาษาใดภาษหนึ่งเท่านั้น เช่น โปรแกรมภาษาโคบอลก็จะแปลเฉพาะภาษาโคบอลเท่านั้น โปแกรมภาษาฟอร์แทน ก็จะแปลได้แต่ภาษาฟอร์แทนเท่านั้น เป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิต เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยงานคอมพิวเตอร์จัดทำขึ้นสำหรับการที่จะช่วยการประมวลผล ที่ทำหน้าที่ประจำโปรแกรมดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย โปรแกรมต่าง ๆ ทำหน้าที่เฉพาะงาน เช่น                    1.1.1 Text - Editing Program เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพื่อเตรียมข้อมูลหรือโปแกรม เข้าสู่ระบบ การเพิ่มแก้ไขหรือการย่าย หรือลบทิ้ง 1.1.2 Diagnostic Program ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อพกพร่องของโปแกรมและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์                 1.1.3 Peripheral Interchange Program ช่วยจัดย้ายแฟ้มงานข้อมมูลจากสื่อชนิดหนึ่งไปยังสื่ออีกชนิดหนึ่ง เช่น ย้ายข้อมูลในเทปแม่เหล็กไปเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก VCD,DVD และอื่นๆ 1.1.4.Sort/Merge Program ช่วยงานจัดลำดับข้อมูลตามลำดับอักษรหรือลำดับเลขและช่วยงานรวมแฟ้มข้อมูงต่างๆ เข้ามาเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกัน โปแกรมประยุกต์ คือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่นภาษาเบสิก โคบอล ฟอร์แทรน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลตามคาสมต้องการโปแกรมเหล่านี้ผู้ใช้เขียนเอง สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง ในขณะเดียวกัน มีซอฟแวร์จัดทำขึ้นจำหน่วย เรียกว่า โปหแรมสำเส็จรูป (Package Program) ผู้ใช้งานสามารถนำมาใช้งานได้เลย เช่นโปแรกม CDS/ISIS ซึ่งโปแกรมสำหรับจัดเก็บและสืบค้นสารสนเทศ โปแกรมSAS,ABSTAT,SPSS,Microsoft Office ปัจจุบันมีโปแกรมสำเส็จรูปจำนวนมาก ไมโครคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ทำให้การใช้งานทำได้กว้างขวางขึ้น การเรียนรู้ง่ายและสะดวก อย่างไรก็ตาม โปแกรมสำเร็จรูปก็ไม่สนองตอบความต้องการของผู้ใข้ได้ทุกอย่างบางครั้งจำเป็นต้องเขียนโปแกรมขึ้นมาใช้เอง ก็ต้องศึกษาวิธีการเขียนโปแกรม และต้องแน่ใจว่าเครื่องคอมพิวเตอร์มีตัวแปลภาษา ทำหน้าที่แปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องได้ ภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม          
1.ภาษาเครื่อง ประกอบด้วยกลุ่มเลขฐานสอง ซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เครื่องสามารถรับรู้และนำไปปฎิบัติได้ทันที ในระยะเริ่มแรกปผู้ใช้จะต้องเรียนรู้ภาษาเครื่อง จึงจะสามารถเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ และการใช้ภาษา เครื่องจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจอย่างลึกซึง จึงนับว่าเป็นความยากลำบากอย่างมากและไม่สะดวกที่จะใช้งาน จึงมีผู้พัฒนาภาษาให้มีความสะดวกมากขึ้น                                                                               
2. ภาษาระดับต่ำ เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง แต่ทำให้กระซับกว่า โดยผู้ใช้ตัวอักษรแทนเลขฐาน สอง ทำให้ผู้ผู้เขียนชุดคำสั่งสะดวกมากขึ้น เมื่อคอมพิวเตอร์รับคำสั่งภาษาแอสแซบบลีก็จะแปลให้เป็นภาษาที่เรียกว่า แอสแซมเบอล (Assemlier) เพื่อแปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องแม้ว่าผู้ใช้งานจะเข้าใจหรือไม่ก็ตามกับภาษาเครื่อง แต่ยังคงมีความไม่สะดวกเพราะพัฒนามาจากภาษาเครื่อง                                                  
3. ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ออกแบบให้ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์จึงทำให้ผู้ใช้งานได้เข้าใจง่ายกว่าภาษาคอมพิวเตอร์ 2 กลุ่ม ที่กล่าวมา โดยบไม่คำนึงถึงรายละเอียดในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไม่มากนักไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐาน เกี่ยวกับภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงนี้สามารถนำไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์ในระบบอื่นได้ นับว่าเป็นภาษาที่สะดวกแก่การใช้งานมากขึ้น แต่ละภาษามีจุดเด่นต่างกัน ต้องมีการพิจารณาเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น - FORTRAN เป็นภาษาที่มีความสามารถในการคำนาณสูงมาก เหมาะสำหรับงานวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม - COBOL เหมาพสำหรับการใช้งานทางด้สนธุรกิจการบัญชีการธนาคาร ความสามารถในการจัดการกับแฟ้มข้อมูลจำนวณมาก - BASIC เป็นภาษษคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นให้มีลักษณธที่ใช้งานง่าย ศึกษาได้ง่ายผู้ใช้สามารถตอบกับเครื่องในโปรแกรมและเหมาะแก่แารใช้งานทางธุรกิจ วิทยาศาสตร์ แต่ภาษาเบสิกยังจัดได้ว่าใหช้งานได้ไม่ดีนัก ส่วนใหญ่ใช้ในไมดครคอมพิวเตอร์ - PACAL เป็นภาษาที่พัฒนามาจากโปรแกรมโครงสร้าง แต่จัดอยู่นะดับปลานกลางเพราะ การจัดการข้อมลูไม่ได้มาก นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีภาษาระดับสูงอีกเช่น ALGOL,ADA,ALP,PROLOG,C เป็นต้น โครงสร้างข้อมูล (DATA Structure) ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลมีรายละเอียดดังนี้ 1.บิท(Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในคอมพิวเตอร์ ย่อมาจาก Binary digit หมายถึงเลขฐานสองที่มีค่า 0หรือ 1ดังนั้นในแต่ละบิทจึงแทนค่าได้เพียงสองสภาวะ หรือถ้าแทนตัวอักษรจะได้เพียง สองตัวอักษรเท่านั้น เช่น 0=a,1=b 2.ไบต์ (Byte)หมายถึง หน่วยข้อมูลกลุ่มหนึ่งที่ใช้แทนตัวอักษร (Character) หนึ่งตัวหรือหนึ่งไบต์เช่น A=0110001,B=011000010 ไบต์ เป็นหน่วยข้อมมูลที่มีขนาดใหญ่กว่าบิทและใช้บอกขนาดความจุในการเก็บข้อมมูลในคอมพิวเตอร์โดยมีหน่วยเรียดว่า ดังนี้ 8 Bit = 1 Byte 1,024 Byte = 1 Kilobyte 1,024 Kilobyte = 1 Megabyte 1,024 Megabyte = 1 Gigabyte - ตัวอักษร (Charater)หมายถึงสัญลักษณ์ ที่ใช้ในการประเมินผล เช่น 0-9,a-z'ก-ฮ และเครื่องหมายอื่นๆ ซึ่งจะมีความหมายเช่นเดียวกับไบต์ - คำ(Word)หมายถึง กลุ่มของไบต์ หรือหน่วยหลักของเขตข้อมูลที่ใช้ในหน่วยความจำหลักของข้อมูล เช่น24 Bits/word หรือ32 Bist/word - เขตข้อมมูล (Field)หมายถึง กลุ่มของไบต์หรือว่ากลุ่มตัวอักษร ที่มีขอบเขตเป็นพื้นที่เฉพาะอันใดอันหนึ่ง ในการบันทึกข้อมูลในแต่ละรายการ เช่น เขตข้อมูลในแต่ล่ะรายการ เช่น เขตข้อมูลของชื่อและนามสกุลหรือประวัติ - ระเบียบ (Recrod)หมายถึง ข้อมูลหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบของแฟ้มข้อมมูลหรือกลุ่มของข้อมมูลชุดหนึ่ง หรือกลุ่มของเขตข้อมมูลที่ประกอบขึ้นเป็น Recrord - แฟ้ม (File)หมายถึงชุดข้อมมูล ซึ่งประกอบไปด้วยไปด้วยกลุ่มของระเบียบที่มีวัตถุประสงค์ ในการปะเมินผลร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมมูลของนักศึกษาก็จะประกอบไปด้วยระเบียบของนักศึกษาทุกๆคน - Vector หมายถึง Field ที่ตรงกันในแต่ล่ะ Recrord - Array หมายถึง กลุ่มของ Vector ทั้งหมดใน Recrord 1.3โปรแกรมอำนวจจความสะดวก (Utility Program) 
บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE) หมายถึง คนที่มีความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียวหรือหลายคนช่วยกันรับผิดชอบ โครงสร้างของหน่วยงานคอมพิวเตอร์ 1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน 2. ฝ่ายเกี่ยวกัโปรแกรม 3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์ 1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์  (EDP Manager) 2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA)3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) 4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator)5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator) 
ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สถานที่ สิ่งของต่าง ๆ ซึ่งมีการเก็บรวบรวมเอาไว้ และสามารถนำไปประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้สามารถเรียกเอามาใช้ประโยชน์ได้ในภายหลัง โดยข้อมูลอาจเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ ตัวอักษร เสียง ภาพ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น

ที่มา : http://friendsbcom51.blogspot.com/2012/02/blogpost.html,
http://www.comsimple.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/137-software.html,http://computersystemthailand2010.blogspot.com/2010/03/peopleware.html,http://1234data.blogspot.com/p/blog-page_111.html

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง สิ่งที่มองเห็นและจับต้องสัมผัสได้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ (Case) เมนบอร์ด (Mainboard) และอุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้าง (Peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ แป้นพิมพ์ เม้าส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะไม่สามารถทำงานด้วยตัวเองเดี่ยว ๆ ได้ จะต้องนำมาต่อเชื่อมเพื่อทำงานร่วมกันเป็นระบบที่เรียกว่า "ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)" ที่มีโครงสร้างของระบบจะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น
2. ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรม (Program) หรือชุดคำสั่งที่ควบคุมให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานให้ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ ซึ่งคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานได้ในทันที ต้องมีซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานตามต้องการได้ โดยโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้นจะเขียนจากภาษาต่าง ๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น เรียกว่า ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมีโปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์แบบต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
          1) ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่จัดการและควบคุม ทรัพยากรต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ และอำนวยความสะดวกด้านเครื่องมือสำหรับการทำงานพื้นฐานต่าง ๆ ตั้งแต่ผู้ใช้เริ่มเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ การทำงานจะเป็นไปตามชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น ตลอดจนควบคุมการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
          2) ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่สร้างหรือพัฒนาขึ้น เพื่อใช้งานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น งานด้านการจัดทำเอกสาร การทำบัญชี การจัดเก็บข้อมูลข่าวสาร ตลอดจนงานด้านอื่น ๆ ตามแต่ผู้ใช้ต้องการ
3. ข้อมูล/สารสนเทศ (Data/Information) คือ ข้อมูลต่างๆ ที่เรานำมาให้คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผลคำนวณ หรือกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้ได้มาเป็นผลลัพธ์ที่เราต้องการ ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลบุคลากรเกี่ยวกับรายละเอียดประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษาหรือ ประวัติการทำงาน ซึ่งอาจนำมาจำแนกเป็นรายงานต่างๆ เกี่ยวกับบุคลากรในหน่วยงานได้ หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวเลขมาตรๆ ไฟฟ้าของบ้านแต่ละหลัง ก็ใช้สำหรับคำนวณเป็นปริมาณไฟฟ้า ที่ใช้ในแต่ละเดือน แล้วคิดเป็นเงิน ที่จะต้องชำระให้กับการไฟฟ้าฯ
4. บุคคลากร (Peopleware) คือ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานต่างๆ และผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในหน่วยงานนั้นๆ บุคลากรด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีความสำคัญมาก เพราะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ นั้นจะต้องมีการจัดเตรียมเปลี่ยนระบบ จัดเตรียมโปรแกรมดำเนินการต่างๆ หลายอย่าง ซึ่งไม่สามารถทำด้วยตัวเองได้ ถ้าหากไม่ใช่ผู้ที่รู้เรื่องคอมพิวเตอร์มากนัก เราจึงถือว่าบุคลากร เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของ ระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งสามารถสรุปเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้
- เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ (Operator)
- บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบ (System)
- ผู้จัดการศูนย์ประมวลผลคอมพิวเตอร์ (Electronic Data Processing Manager)
- ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Computer user)
5. กระบวนการทำงาน (Documentation/Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่จะต้องให้ผู้ใช้เข้าใจขั้นตอนการทำงาน ต้องมีระเบียบปฏิบัติให้เป็นแบบเดียวกัน มีการจัดทำคู่มือการใช้คอมพิวเตอร์ให้ทุกคนเรียนรู้และใช้อ้างอิงได้นอกจากนั้นเมื่อการใช้มาตรฐาน ช่วยให้การประสานงาน ระหว่างหน่วยงานย่อยๆ ราบรื่น การจัดซื้อจัดหา ตลอดจนการบำรุงรักษาเครื่องคอมพิวเตอร์ และซอฟต์แวร์ก็จะง่ายขึ้นเพราะทุกหน่วยงานใช้มาตรฐานเดียวกัน

ที่มา: http://www.comsimple.com/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/179-%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C.html

ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์

ประเภทเครื่องคอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งตามลักษณะของข้อมูล ได้ 3 ประเภท คือ

1. อนาลอกคอมพิวเตอร์ (Analog Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อใช้กับงานเฉพาะด้าน มีการทำงานโดยใช้หลักในการวัด มีลักษณะเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แยกส่วนทำหน้าที่เป็นตัวกระทำและฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ โดยใช้ค่าระดับแรงดันไฟฟ้าเป็นหลักในการคำนวณ และการรับข้อมูลจะรับในลักษณะของปริมาณที่มีค่าต่อเนื่อง ส่วนการรับข้อมูลสามารถรับข้อมูลได้โดยตรงจากแหล่งเกิดข้อมูล แล้วแสดงผลออกมาทางจอภาพ หรืออ่านค่าได้จากเครื่องวัดและแทนค่าเป็นอุณหภูมิ ความเร็ว หรือความดัน มีความละเอียดและสามารถคำนวณได้น้อยกว่าดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ไม่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากเหมือนกับดิจิทัลคอมพิวเตอร์ ได้แก่ เครื่องที่ใช้วัดปริมาณทางฟิสิกส์ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะออกมาในรูปของกราฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตรวจสภาพอากาศ และที่ใช้ในวงการแพทย์ เช่น เครื่องตรวจวัดสายตา ตรวจวัดคลื่นสมองและการเต้นของหัวใจ เป็นต้น
2. ดิจิทัลคอมพิวเตอร์ (Digital Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานโดยใช้หลักในการคำนวณแบบลูกคิด หรือหลักการนับ และทำงานกับข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง ลักษณะการคำนวณจะแปลงเลขเลขฐานสิบก่อน แล้วจึงประมวลผลด้วยระบบเลขฐานสอง แล้วให้ผลลัพธ์ออกมาอยู่ในรูปของตัวเลข ซึ่งคอมพิวเตอร์จะแปลงเป็นเลขฐานสิบเพื่อแสดงให้ผู้ใช้เข้าใจง่าย มีความสามารถในการคำนวณและมีความแม่นยำมากกว่าอนาลอกคอมพิวเตอร์ สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมากจึงต้องใช้สื่อในการบันทึกข้อมูล เช่น จานแม่เหล็ก และเทปแม่เหล็ก เป็นต้น เนื่องจากดิจิทัลคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่าง ๆ เป็นมาตรฐานเดียวกันและใช้กับงานได้อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ทำให้ดิจิทัลคอมพิวเตอร์มีการพัฒนาให้สามารถทำงานได้เหมาะสมกับสภาพงานทั่วไป เช่น งานพิมพ์เอกสาร งานคำนวณ งานวิจัยเปรียบเทียบค่าทางสถิติ งานบันทึกนัดหมาย งานส่งข้อความในรูปเอกสาร ภาพและเสียง ตลอดจนงานกราฟิกเพื่อนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น
3. ไฮบริดคอมพิวเตอร์ (Hybrid Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้กับงานเฉพาะด้าน มีประสิทธิภาพสูงและสามารถทำงานที่ซับซ้อนได้ เนื่องจากการนำเทคนิคการทำงานของอนาลอกคอมพิวเตอร์และดิจิทัลคอมพิวเตอร์มาใช้งานร่วมกัน เช่น การส่งยานอวกาศขององค์การนาซา จะใช้เทคนิคของอนาลอกคอมพิวเตอร์ในการควบคุมการหมุนของตัวยานอวกาศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับความกดดันอากาศ อุณหภูมิ ความเร็ว และใช้เทคนิคของดิจิทัลคอมพิวเตอร์ในการคำนวณระยะทางจากพื้นผิวโลก เป็นต้น

ประเภทของคอมพิวเตอร์แบ่งตามสมรรถนะ ขนาดและราคา ได้ 5 ประเภท คือ
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด รุ่นแรก สร้างในปี ค.ศ. 1960 ที่องค์การทหารของสหรัฐอเมริกา สร้างสามารถประมวลผลได้กว่า 100 ล้านคำสั่งต่อวินาที จึงทำให้ทำงานได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง มีราคาแพงที่สุด เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะกับงานคำนวณที่ต้องคำนวณตัวเลขจำนวนมหาศาล ให้เสร็จภายในระยะเวลาอันสั้น โดยต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและปราศจากฝุ่นละออง มักใช้กับองค์กรที่มีขนาดใหญ่เท่านั้น เนื่องจากสามารถรองรับการใช้งานของผู้ใช้จำนวนมากพร้อม ๆ กันได้ เรียกว่า มัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) อันเป็นการใช้หน่วยประมวลผลหลายตัว เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อม ๆ กันได้ จึงนิยมใช้กับงานที่การคำนวณที่ซับซ้อน เช่น การพยากรณ์อากาศ การทดสอบทางอวกาศ การคำนวณทางวิทยาศาสตร์ การบิน อุตสาหกรรมน้ำมัน ตลอดจนการวิจัยในห้องปฏิบัติการ ทั้งของภาครัฐบาลและเอกชน เป็นต้น ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันดีในปัจจุบันได้แก่ Cray Supercomputer
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่มีความเร็วในการประมวลผลสูงรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ต้องอยู่ในห้องที่ควบคุมอุณหภูมิและปราศจากฝุ่นละออง และได้รับการพัฒนาให้มีหน่วยประมวลผลหลายหน่วยทำงานพร้อม ๆ กันเช่นเดียวกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่มีจำนวนหน่วยประมวลผลที่น้อยกว่า จึงทำให้สามารถประมวลผลคำสั่งได้หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที ระบบคอมพิวเตอร์ของเครื่องเมนเฟรมส่วนมากจะมีระบบคอมพิวเตอร์ย่อย ๆ ประกอบอยู่ด้วย เพื่อช่วยในการทำงานบางประเภทให้กับเครื่องหลัก มีราคาแพงมาก (แต่น้อยกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์) เหมาะกับงานที่มีข้อมูลที่มีปริมาณมากต้องประมวลผลพร้อมกันโดยผู้ใช้นับพันคน (Multi-user) ใช้กับองค์กรใหญ่ ๆ ทั่วไป เช่น งานด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ การควบคุมระบบเครือข่าย งานพัฒนาระบบ งานด้านธุรกิจ ธนาคาร งานสำมะโนประชากร งานสายการบิน งานประกันชีวิต และมหาวิทยาลัย เป็นต้น

3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดกลางที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่าเมนเฟรม แต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้หลายร้อยคน (Multi-user) ในการทำงานที่แตกต่างกัน (Multi Programming) เช่นเดียวกับเครื่องเมนเฟรม แต่สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างเครื่องเมนเฟรมและเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ คือ ความเร็วในการทำงาน เนื่องจากมินิคอมพิวเตอร์ทำงานได้ช้ากว่า และควบคุมผู้ใช้งานต่าง ๆ ในจำนวนที่น้อยกว่า รวมทั้งสื่อที่เก็บข้อมูลมีความจุน้อยกว่าเมนเฟรม จึงเหมาะกับองค์กรขนาดกลาง เพราะมีราคาถูกกว่าเครื่องเมนเฟรมมาก ทำงานเฉพาะด้าน เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น ในสถานศึกษาต่าง ๆ และบางหน่วยงานของรัฐนิยมใช้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้
4. เวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์ (Workstation Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์เครือข่าย ซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูลโปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น เครื่องพิมพ์และอุปกรณ์อื่น ๆ โดยการเชื่อมโยงกับเทอร์มินัล (Terminal) หลาย ๆ เครื่อง อีกทั้งได้ถูกออกแบบมาให้มีความสามารถในการคำนวณด้านวิศวกรรม สถาปัตยกรรม หรืองานอื่น ๆ ที่เน้นการแสดงผลด้านกราฟิก เช่น การนำมาช่วยออกแบบภาพกราฟิกที่มีความละเอียดสูง ทำให้เวิร์คสเตชันใช้หน่วยประมวลผลที่มีประสิทธิภาพสูงและมีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองจำนวนมากด้วย ผู้ใช้บางกลุ่มจะเรียกเครื่องระดับเวิร์คสเตชันนี้ว่า ซูเปอร์ไมโคร (Supermicro) เพราะถูกออกแบบให้ใช้งานแบบตั้งโต๊ะ แต่ชิปที่ใช้ทำงานนั้นแตกต่างกันมาก เนื่องจากเวิร์คสเตชันส่วนมากใช้ชิปที่ลดจำนวนคำสั่งที่สามารถใช้สั่งงานให้เหลือเฉพาะที่จำเป็น เพื่อให้สามารถทำงานได้ด้วยความเร็วสูง
5. ไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูกสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC) เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้ดังนี้
คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูกสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC) มีการพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1975 ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอันมาก เมื่อ IBM ได้สร้างเครื่อง IBM PC ออกมา ซึ่งความแตกต่างระหว่างเวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์ และไมโครคอมพิวเตอร์ได้ลดน้อยลงเรื่อย ๆ เนื่องจากเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ระดับสูงในปัจจุบันมีประสิทธิภาพ และมีความเร็วในการแสดงผลที่ดีกว่าเวิร์คสเตชันคอมพิวเตอร์มาก สามารถใช้งานโดยใช้คนเดียว (Stand-alone) หรือเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายเพื่อติดต่อสื่อสารกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ จากการที่เทคโนโลยีที่ก้าวนำสมัยทำให้ PC สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตติดต่อสื่อสารกับคนอื่นได้ทั่วโลก เหมาะกับงานทั่วไป เช่น การประมวลผลคำ (Word Processing) การคำนวณ (Spreadsheet) การบัญชี (Accounting) จัดทำสิ่งพิมพ์ (Desktop Publishing) และงานที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล เป็นต้น เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้ดังนี้
โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (Notebook Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก มี น้ำหนักเบาประมาณ 2-4 กิโลกรัม และบางกว่าแบบตั้งโต๊ะ สามารถพกพาไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้สะดวก โดยมีหน้าจอและคีย์บอร์ดติดกัน ส่วนเม้าส์ (Mouse) และลำโพงจะอยู่ติดกับตัวเครื่อง โดยสามารถหาอุปกรณ์ดังกล่าวติดตั้งภายนอกเพิ่มเติมก็ได้ มีเครื่องอ่านแผ่นดิสก์ (Floppy Disk Drive) และเครื่องอ่านแผ่นซีดีรอม (CD-ROM drive) และพัฒนาให้มีขนาดเล็กกว่าเดิมสามารถวางบนตักได้

ที่มา : http://www.comsimple.com

วันอังคารที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยี 3G

เทคโนโลยี 3G คือ

3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูปและอินเทอร์เน็ต 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อ เนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง แล ะ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น

ยุค 1G เป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ การรับส่งสัญญาณใช้วิธีการมองดูเลตสัญญาณอะนาล็อกเข้าช่องสื่อสารโดยใช้ การแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็ก ๆ ด้วยวิธีการนี้มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนช่องสัญญาณ และการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จึงติดขัดเรื่องการ ขยายจำนวนเลขหมาย และการขยายแถบความถี่ ประจวบกับระบบเครื่องรับส่งสัญญาณวิทยุกำหนดขนาดของเซล และความแรงของสัญญาณ เพื่อให้เข้าถึงสถานีเบสได้ ตัวเครื่องโทรศัพท์เซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่ ใช้กำลังงานไฟฟ้ามาก ในภายหลังจึงเปลี่ยนมาเป็นระบบดิจิตอล และการเข้าช่องสัญญาณแบบแบ่งเวลา โทรศัพท์เคลื่อนที่แบบ 1G จึงใช้เฉพาะในยุคแรกเท่านั้น

ยุค 2G เป็นยุคที่พัฒนาต่อมาโดยการเข้ารหัสสัญญาณเสียง โดยบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิตอล ให้มีขนาดจำนวนข้อมูลน้อยลงเหลือ เพียงประมาณ 9 กิโลบิตต่อวินาที ต่อช่องสัญญาณ การติดต่อจากสถานีลูก หรือตัวโทรศัพท์เคลื่อนที่กับสถานีเบส ใช้วิธีการสองแบบคือ TDMA คือการแบ่งช่องเวลาออกเป็นช่องเล็ก ๆ และแบ่งกันใช้ ทำให้ใช้ช่องสัญญาณความถี่วิทยุได้เพิ่มขึ้นจากเดิมอีกมาก กับอีกแบบหนึ่งเป็นการแบ่ง การเข้าถึงตามการเข้ารหัส และการถอดรหัสโดยใส่แอดเดรสหมือน IP เราเรียกวิธีการนี้ว่า CDMA - Code Division Multiple Access ในยุค 2G จึงเป็นการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิตอลหมดแล้ว

ยุค 2.5G การสื่อสารไร้สายยุค 2.5G ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากเทคโนโลยี ในระดับ 2G แต่มีประสิทธิ - ภาพด้อยกว่ามาตรฐาน การสื่อสารไร้สายยุค 3G โดยเทคโนโลยียุค 2.5G สามารถให้บริการรับส่งข้อมูล แบบแพคเก็ตที่ความเร็วระดับ 20 – 40 Kbps ในทางปฏิบัติ เทคโนโลยีจีพีอาร์เอสนับเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในระดับ 2.5G

ยุค 3G เป็นยุคแห่งอนาคตอันใกล้ โดยสร้างระบบใหม่ให้รองรับระบบเก่าได้ และเรียกว่า Universal Mobile Telecommunication Systems (UMTS) โดยมุ่งหวังว่า การเข้าถึงเครือข่ายแบบไร้สาย สามารถกระทำได้ด้วยอุปกรณ์หลากหลาย เช่น จากคอมพิวเตอร์ จากเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ระบบยังคง ใช้การเข้าช่องสัญญาณเป็นแบบ CDMA ซึ่งสามารถบรรจุช่องสัญญาณเสียงได้มากกว่า แต่ใช้แบบแถบกว้าง (wideband) ในระบบนี้จึงเรียกอีก อย่างหนึ่งว่า WCDMA 

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มบริษัทบางบริษัทแยกการพัฒนาในรุ่น 3G เป็นแบบ CDMA เช่นกัน แต่เรียกว่า CDMA2000 กลุ่มบริษัทนี้พัฒนารากฐานมาจาก IS95 ซึ่งใช้ในสหรัฐอเมริกา และยังขยายรูปแบบเป็นการรับส่งในช่องสัญญาณที่ได้อัตราการรับส่งสูง (HDR-High Data Rate) การพัฒนาในยุคที่สาม นี้ยังต้องการความเกี่ยวโยงกับการใช้งานร่วมในเทคโนโลยีเก่าอีกด้วย โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาที่ยังคงให้ใช้งานได้ทั้งแบบ 1G และ 2G โดยเรียกรูป แบบใหม่เพื่อการส่งเป็นแพ็กเก็ตว่า GPRS – General Packet Radio Service ซึ่งส่งด้วยอัตราความเร็วตั้งแต่ 9.06, 13.4, 15.6 และ 21.4 กิโลบิตต่อวินาที โดยในการพัฒนาต่อจาก GPRS ให้เป็นระบบ 3G เรียกระบบใหม่ว่า EDGE - (Enhanced Data Rate for GSM Evolution)

เทคโนโลยีในยุคที่ 3 เรื่องความเร็วในการรับ - ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ทำให้สามารถใช้บริการ Multimedia ได้อย่าง สมบูรณ์แบบ และ มีประสิทธิภาพแบบมากยิ่งขึ้น เช่น การรับ - ส่ง File ขนาดใหญ่, การใช้บริการ Video Conference, Download เพลง, ดู TV ในลักษณะแบบ Streaming เป็นต้น สำหรับประเทศไทย ปี 2549 นี้ เป็นปีที่จะพยายามเข้าสู่ยุค 3G แต่สำหรับต่างประเทศโดย เฉพาะประเทศญี่ปุ่นได้เลยยุค 3G มาแล้ว

ที่มา : http://www.chandra.ac.th/office/ict/project/3g%20technology/Content.php?node=1

บริการต่างๆของ Google

ผู้ดูแลระบบสามารถควบคุมการเข้าถึงของผู้ใช้สำหรับบริการประเภทต่างๆ ของ Google ซึ่งได้แก่
Google Apps for Business อันได้แก่เวอร์ชันสำหรับองค์กรของ Gmail, ปฏิทิน, ไดรฟ์ และอื่นๆ อีกมากมาย
สามารถดูแอปพลิเคชันที่ใช้ได้จาก Google Apps Marketplace
บริการอื่นๆ ของ Google อันได้แก่ บล็อกเกอร์, YouTube, และอื่นๆ อีกมากมาย
ผู้ดูแลระบบสามารถเปิดบริการสำหรับทั้งองค์กรหรือหน่วยขององค์กร ตัวอย่างเช่น ในการปิด Google+ เฉพาะสำหรับผู้ใช้ที่เป็นพนักงานชั่วคราว ให้สร้างหน่วยขององค์กรสำหรับพนักงานชั่วคราวขึ้น โดย
ประกอบด้วยผู้ใช้เหล่านี้ และปิด Google+ สำหรับหน่วยขององค์กรดังกล่าว
มีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้:
วิธีควบคุมการเข้าถึงบริการต่างๆ จะแตกต่างกันไปตามส่วนติดต่อผู้ใช้ของคอนโซลการดูแลระบบ (ฉันใช้คอนโซลการดูแลระบบแบบไหน)
บริการบางอย่างอาจขึ้นอยู่กับบริการอื่น ตัวอย่างเช่น Google+ จะขึ้นอยู่กับปฏิทิน, ไดรฟ์, Talk และ Picasa กล่าวคือคุณไม่สามารถเปิด Google+ ถ้าบริการอื่นเหล่านี้ไม่เปิดอยู่
การเปิด/ปิดบริการอาจใช้เวลาถึง 24 ชั่วโมงจึงจะมีผล
ในการควบคุมการเข้ัาถึงบริการสำหรับผู้ใช้รายเดียว ให้สร้างหน่วยขององค์กรที่มีเพียงผู้ใช้รายนั้น


ที่มา : https://support.google.com/a/answer/182442?hl=th